สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714590
แสดงหน้า2188856
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




เตรียมสอบวิชาพื้นฐาน Ps 701 (PoL6100) แนวการศึกษาทางรัฐศาสตร์

เตรียมสอบวิชาพื้นฐาน Ps 701 (PoL6100) แนวการศึกษาทางรัฐศาสตร์
อ้างอิง อ่าน 3655 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
เตรียมสอบวิชาพื้นฐาน Ps 701 (PoL6100) แนวการศึกษาทางรัฐศาสตร์

การเมืองคืออะไร เป็นคำถามที่นักรัฐศาสตร์พยายามจะให้คำตอบทุกยุคทุกสมัย และคำตอบเหล่านั้นดูเหมือนว่าจะไม่มีความสอดคล้องจองกันเท่าไรนัก ความหลากหลายของคำจำกัดความของคำว่าการเมืองแปรเปลี่ยนไปตามที่นักวิชาการแต่ละคน แต่ละสำนักนำเสนอสาระที่จะนำมาเป็นประเด็นในการวิพากษ์ต่อไปนี้ไม่ใช่มุ่งที่จะชี้ผิดชี้ถูกในคำจำกัดความของนักวิชาการใดๆ แต่เพื่อจะสำรวจทรรศนะและวิพากษ์ข้อจำกัด ขอบเขตของการนำมาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะกับสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันเท่านั้น
การเมืองคือเรื่องของรัฐและอำนาจรัฐ
แม้จะเป็นที่ยอมรับกันว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ข้องเกี่ยวกับมนุษย์ทุกผู้ทุกนามเป็นข้อเท็จจริงที่ชีวิตมนุษย์ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ เราไม่อาจที่จะแยกการการเมืองออกจากมนุษย์ได้ ด้วยเหตุนี้อริสโตเติ้ลนักปรัชญากรีกโบราณซึ่เงป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ว่าเป็น “ศาสตร์แม่บท” (master science)
การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจ
ตามข้อเท็จจริงนั้นนักปรัชญาการเมืองที่มีชื่อเสียงนับตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงปัจจุบันหลายท่านที่ได้พยายามอธิบายว่าการศึกษาการเมืองนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจ เพราะในสังคมการเมืองของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หรือถูกบังคับใช้อำนาจการปกครองหรือการถูกปกครองตลอดเวลา จึงได้สรุปแนวคิดสำคัญของการเมืองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวคิดนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มา เช่นอ้างกันว่า “อำนาจ” ยังหาข้อยุติไม่ได้ มีขอบข่ายที่กว้างเกินไป อำนาจบางอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับการเมืองเลยก็ได้ เช่น อำนาจของผู้จัดการที่จะออกคำสั่งต่อลูกจ้าง อำนาจของพระศาสดาที่อยู่เหนือบรรดาสาวก เป็นต้น

การเมืองคือของการใช้อำนาจแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่า
จากข้อวิพากษ์ข้างต้นนำไปสู่แนวคิดเรื่องการเมืองใหม่โดยมองว่า การเมืองคือเรื่องของการใช้อำนาจอันชอบธรรมเพื่อแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าหรือทรัพยากรของสังคมให้ส่วนรวม ฐานคติที่สำคัญของนักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้อยู่ที่ความเชื่อที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของขัดแย้ง ในสังคมพหุนิยมนั้นประชาชนจะจัดตั้งกลุ่มองค์กรขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้กลุ่มเป็นฐานในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้ผู้ปกครองแบ่งสรรทรัพยากรของสังคมให้เป็นประโยชน์แก่พวกตนให้มากที่สุด สถาบันทางการเมืองหลักที่จะต้องทำหน้าที่ในการแจกแจงแบ่งสรรก็คือรัฐบาล เมื่อสังคมแต่ละสังคมมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ความขัดแย้งจะเพิ่มทวีขึ้น ฉะนั้นจึงถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องใช้อำนาจอันชอบธรรมแจกแจงทรัพยากรเพื่อสนองตอบความต้องการของสมาชิกอย่างเป็นธรรมโดยทั่วหน้า
ข้อโต้แย้งที่สำคัญของแนวคิดนี้อยู่ที่ว่าการใช้อำนาจในการแจกแจงแบ่งสรรอาจเกิดขึ้นได้ในสถาบันทางสังคมอื่นๆ เช่น ในโรงเรียน ครอบครัว องค์กรทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
 William A. Welsh ได้สำรวจแนวคิดของคำว่าการเมืองที่บรรดานักรัฐศาสตร์ พยายามจะให้คำนิยามไว้โดยแบ่งเป็น 3 พวกใหญ่ๆ ด้วยกัน
นักวิชาการกลุ่มแรก เป็นพวกที่พยายามจะคิดค้นหาคำหรือพยางค์ที่สามารถบ่งชัดและครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่คิดว่าเป็นการเมืองโดยธรรมชาติ บางคนจึงอ้างว่าการเมืองเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีศูนย์ของการกระทำอยู่ที่สถาบันและการปฏิบัติงานของรัฐบาล บางคนมองว่าการเมืองเป็นกระบวนการที่ชุมชนของมนุษย์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่ขวางกั้น บางคนมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการกระทำในระหว่างกันของมนุษย์ซึ่งจะสัมพันธ์กับการใช้ การขู่ว่าจะใช้อำนาจหรืออำนาจอันชอบธรรม และบางคนก็มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการแจกแจงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของสังคมให้กับกลุ่ม องค์กรต่างๆ เป็นต้น
นักวิชาการกลุ่มที่สอง พยายามหากความหมายของคำว่าการเมือง โดยการตั้งปัญหาที่สำคัญที่ควรจะถามจะตอบกันเพื่อทำความเข้าใจกับการเมือง คำถามที่พวกนี้ยกคำถามกันมาก เช่น องค์กร กลุ่ม สถาบัน พรรคการเมืองจะดำรงอยู่ได้ท่ามกลางเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลหรือกลุ่มบุคคลประสบความสำเร็จและสามารถรักษาไว้ซึ่งอำนาจและอิทธิพลได้อย่างไร เงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่มีผลต่อระบอบการปกครองแต่ละรูปแบบอย่างไร เป็นต้น
นักวิชาการกลุ่มที่สาม ได้สำรวจความหมายคำว่าการเมือง โดยอาศัยกลุ่มกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่สำคัญๆ อันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเมือง เช่น บางคนมองว่าความขัดแย้งเป็นสาระสำคัญของการเมือง ในทุกสังคมจะมีความขัดแย้งอยู่มากมาย โดยเฉพาะในสังคมพหุนิยมที่ประกอบไปด้วยกลุ่ม องค์กรทางเศรษฐกิจ การเมืองและทางสังคมหลากหลายนั้น แต่ละกลุ่มแต่ละองค์กรจะเป็นที่รวมของกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์มีอุดมการณ์ที่เป็นของตนเอง และที่สำคัญคือ กลุ่มหรือองค์กรเหล่านี้จะตกอยู่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือของสมาชิกในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐดำเนินการหรือไม่ดำเนินการใดๆ ในการแจกแจงทรัพยากรของสังคม เนื่องจากสังคมต่างมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด มักจะไม่สามารถที่สนองต่อความต้องการของทุกคนทุกเรื่องในทุกเวลาได้ผลก็คือการแข่งขันก็จะเกิดขึ้นในระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อให้รัฐดำเนินการให้เป็นประโยชน์กับกลุ่มตนมากที่สุด ซึ่งการแข่งขันจะสะท้อนออกมาในรูปของความขัดแย้งนั้นเอง
นักวิชาการบางคนอาจไปสนใจต่อสู้ทางการเมืองและความขัดแย้งในแง่ของอำนาจและอิทธิพล ทั้งอำนาจและอิทธิพลต่างเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่งว่าเกี่ยวพันกับการศึกษาการเมืองอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันบางคนอาจให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องของภาวะผู้นำ โดยชี้ให้เห็นว่าทุกองค์กรในทุกระดับแม้ว่าจะมีโครงสร้างและบทบาทแตกต่างกัน แต่ที่จะขาดเสียมิได้ก็คือผู้นำซึ่งจะทำหน้าที่ในการระดมสรรพกำลัง รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการที่สำคัญประการหนึ่งผู้นำจะต้องกระทำคือ การตัดสินนโยบาย และกระบวนการนี้จัดว่าเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การตัดสินนโยบายนั้นเป็นกระบวนการที่ผู้นำหรือที่อยู่ในอำนาจเลือกสรรแนวปฏิบัติซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง และผลของการตัดสิ้นใจของผู้นำนี้จะกระทบต่อสมาชิกขององค์กรด้วย
ฉะนั้น ประเด็นเรื่องความขัดแย้ง อำนาจและอิทธิพล ภาวะผู้นำและการตัดสินนโยบายซึ่งต่างเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด จึงเป็นที่ยอมรับของนักวิขาการจำนวนไม่น้อยว่า เป็นสาระสำคัญของการเมือง
อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความของคำว่าการเมืองที่มีอยู่หลากหลายแปรเปลี่ยนไปตามทรรศนะหรือการมองปัญหาของนักวิชาการแต่ละคนแต่ละกลุ่มนี้ เราอาจจะสรุปได้ว่า แนวทรรศนะส่วนหนึ่งจะตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานที่สำคัญ 7 ประการ ดังต่อไปนี้
1.    สังคมมนุษย์ทุกสังคมต่างก็ประสบกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นโภคทรัพย์ สถานภาพหรืออำนาจ และอุปสงค์มักจะมีมากกว่าอุปทานเสมอ
2.    เพื่อปกป้องไม่ให้ความขัดแย้งงงอันเป็นผลมาจากการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสังคม จะเกิดกลุ่มบุคคลขึ้น มากลุ่มหนึ่งในทุกสังคมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำเอากลไกของสังคมมาใช้ในการแบ่งสรรทรัพยากร และบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมาควบคุมพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบรรดาสมาชิกของสังคมนั้นๆ กลไกดังกล่าวได้แก่รัฐบาล ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปขององค์กรที่ซับซ้อน เช่น รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา หรืออาจอยู่ในรูปแบบง่ายๆ เช่น ระบบเผ่าพันธุ์ เป็นต้น
3.    รัฐบาลจะแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรของสังคมให้แก่บุคคลจำนวนหนึ่ง ขณะที่ผู้คนอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์
4.    จะเกิดแรงผลักดัน เพื่อให้รัฐบาลแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรใหม่เสมอ และจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปมากมายตั้งแต่การจลาจล สงครามกลางเมือง การไปออกเสียงเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการกระทำของกลุ่ม “Have nots”
5.    เมื่อกลุ่ม Have nots ขยายแรงผลักดันให้มีการแจกแจงแบ่งสรรกันใหม่เพิ่มขึ้น กลุ่ม Haves ซึ่งเป็นพวกที่ได้ประโยชน์จากรูปแบบและวิธีการแจกแจงแบ่งสรรเดิมอยู่แล้วก็ยิ่งกระตือรือร้นที่จะต่อต้านเพื่อรักษาสถานภาพเดิมไว้ให้คงอยู่
6.    ยิ่งกลุ่ม Haves ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ปกครองสามารถชักจูงให้มวลชนเห็นว่ารัฐบาล ตลอดจนผลงานและกระบวนการในการทำงานมีความชอบธรรม สามารถรักษาผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของมวลชนได้มากเพียงไร ฐานะตำแหน่งของผู้ปกครองก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้น ผู้ปกครองจะพยายามรักษาตำแหน่งอภิสิทธิ์นี้ไว้โดยใช้วิธีการต่างๆ เท่าที่คิดค้นขึ้นมา เช่นใช้ความเชื่อทางศาสนาบ้าง National Myth บ้าง เพื่ออ้างสิทธิที่ตนจะปกครองผู้อื่น
7.    การเมืองจึงเป็นเรื่องของปฏิกิริยาระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองและเป็นเรื่องของการแก่งแย่งแข่งขันในสิทธิที่จะปกครองผู้อื่นในระหว่างผู้ปกครองด้วยกันอีกด้วย  สถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการจึงเป็นจุดศูนย์รวมของการต่อสู้ ทั้งนี้ผู้ปกครองต่างก็มองว่าสถาบันเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับควบคุมมวลชนและช่วยรักษาสถานภาพอันเหนือกว่าของตนให้รอดพ้นจากผู้ปกครองอื่นๆ ด้วย
ดังนั้น จากนิยามของคำว่าการเมืองที่มีอยู่หลากหลายนี้ การจะยึดว่านิยามใดดีที่สุดหรือมีประโยชน์มากกว่านิยามอื่นๆ นั้น ออกจะเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะแคบไป ไม่มีนิยามใดที่ผิดหรือถูกต้องสมบูรณ์ แต่เป็นเพียงข้อความสรุปที่บุคคลหวังที่จะทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ใดๆ ทุกคนจึงมีสิทธิที่จะให้คำจำกัดความตามทรรศนะของตนเองทั้งสิ้น
แนวการศึกษาทางการเมือง
1.    แนวการศึกษาแบบคลาสสิก
ในความพยายามของมนุษย์ที่จะทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันและระหว่างมนุษย์กับสังคมการเมืองนั้นมีมานานมาก แนวการศึกษาเพื่อการแสวงหาคำตอบคำถามของความสัมพันธ์ดังกล่าวที่เก่าแก่ที่สุด เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแนวคลาสสิค (Classical Approach) ซึ่งเป็นแนวที่นักปราชญ์โบราณใช้โดยมุ่งเน้นที่นครรัฐเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากเห็นว่านครรัฐเป็นหน่วยการปกครองหลัก ข้อสมมติฐานที่สำคัญของนักปราชญ์โบราณจึงอยู่ที่การมีนครรัฐที่ดีจะนำมาซึ่งชีวิตที่ดีและยุติธรรมของบรรดาสมาชิกได้ พวกนี้จึงสืบเสาะแสวงหาคำตอบต่อคำถามต่อๆไป ว่าสังคมการเมืองหรือนครรัฐที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร มีโครงสร้าง รูปแบบอย่างไร ผู้ปกครองที่ดีอันจะนำมาซึ่งความยุติธรรมของสังคมนั้นควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เป็นต้น
    เราจะพบว่าแนวการศึกษาแบบคลาสสิคก็คือ แนวการศึกษาปรัชญาการเมืองนั้นเอง แนวการศึกษาแบบนี้นอกจากจะพยายามทำความเข้าใจกับธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว ยังมีการนำเอาค่านิยม เช่น ความดี-เลว ผิด-ถูก ยุติธรรม – อยุติธรรม มาพิจารณาด้วย ตัวอย่างของแนวการศึกษาแบบนี้ที่หยิบยกกันมากได้แก่ งานเขียนของนักปราชญ์ยุคกรีกโบราณ 2 ท่าน คือ เพลโต้ และอริสโตเติ้ล
    เพลโต้นั้นพยายามที่ค้นหารัฐที่ดี มีคุณธรรม สามารถสร้างชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวมได้ ในงานเขียนชิ้นสำคัญคือ อุตมรัฐ (The Republic)

ข้อ1 ปี52  แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตย ที่ได้รับการยอมรับกันในหมู่นักรัฐศาสตร์ทั่วโลกมี 2 ประการใหญ่ ๆ  คือ การพัฒนาสถาบันการเมืองการปกครองให้มีประสิทธิภาพและชอบธรรมไปพร้อมๆ กันกับการเสริมสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า
” วัฒนธรรมพลเมือง ” 
   ให้อธิบายทั้ง 2 แนวคิดข้างต้นเพื่อให้เห็นประเด็นองค์ประกอบทางทฤษฎีที่ท่านเข้าใจมาอย่างชัดเจน และให้วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในสังคมการเมืองไทยเราจะนำทั้งสองแนวทางนี้มาพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เข็มแข็งยั่งยืนได้ด้วยวิธีใดบ้าง

********************************************************************
แนวการตอบ
1. การพัฒนาสถาบันการเมืองการปกครองตามแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตย ให้มีประสิทธิภาพและชอบธรรม
2.การเสริมสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า ” วัฒนธรรมพลเมือง ” 
แนวการตอบ
1. การพัฒนาสถาบันการเมืองการปกครองให้มีประสิทธิภาพและชอบธรรม ตาม
แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตย 
การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ไปสู่ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 
การเมืองเก่าไปสู่การเมืองใหม่
การพัฒนาตามทฤษฎี ธรรมาภิบาล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎีทุนมนุษย์ 
แนวการตอบ
การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ไปสู่ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 
1.ประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) 
2.ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) 
3.ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) 
4.ประชาธิปไตยแบบหารือ  (Deliberative Democracy) 
แนวการตอบ
การเมืองเก่าไปสู่การเมืองใหม่
การเมืองเก่า
กระบวนการกระจายสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมให้เกิดความเป็นธรรม ให้กว้างขวางและทั่วถึงแก่ประชาชนทุกส่วน แต่เป็นการเมืองที่จำกัดอยู่ในโครงสร้างที่เป็นทางการ เช่น รัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง รัฐสภา ทำให้การเมืองห่างไกลจากชีวิตความเป็นจริงของประชาชน และก่อให้เกิดการเมืองแบบธุรกิจ มีการลงทุนและถอนทุน ประชาชนจะมีส่วนร่วมเฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น
การเมืองใหม่
1.ไม่ได้จำกัดเฉพาะโครงสร้าง เป็นการเมืองของพลเมืองทุกคน
2.ประเด็นทางการเมืองมีความหลากหลายไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะการปกครอง อำนาจรัฐ ราชการ แต่ครอบคลุมประเด็นสาธารณะต่างๆ
3.เน้นในความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นมากกว่า  ไม่ใช่สั่งจากรัฐบาลแต่อย่างเดียว
4.เน้นบทบาทที่เข้มแข็งของภาคเอกชนขบวนการภาคประชาชนมากกว่าภาครัฐ
การเมืองใหม่
5.ให้ความสำคัญกับบทบาทของชนกลุ่มน้อย คนพิการ คนชายขอบ คนยากจน ด้อยโอกาส
6.ชนชั้นใหม่ๆ มีอำนาจและบทบาททางการเมืองมากขึ้น เช่นชนชั้นกลาง
7.เวทีในการเรียกร้องและแสดงออกทางการเมืองเป็นภาคเอกชนมากขึ้น ไม่จำกัดที่พรรคการเมือง
8. ประชาธิปไตยเชิงปรึกษาหารือ หรือประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตัวเองได้
9.การเมืองบนท้องถนน (Street Politics) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
แนวการตอบ
และชอบธรรม ก็ต้องใช้
การพัฒนาตามทฤษฎี ธรรมาภิบาล
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
2.การเสริมสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า 
” วัฒนธรรมพลเมือง ” หรือ วัฒนธรรมการเมือง
ต้องสร้างตั้งแต่ ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน วัด โรงเรียนใน-นอกห้องเรียน อบรมบ่มนิสัยในสถานแวดล้อมจริง ชุมชน สังคม ประเทศชาติ คนทุกคนควรมีส่วนร่วม จึงกลายเป็นวัฒนธรรมได้ ข้อสำคัญ ครู พ่อ แม่ ผู้บังคับบัญชา นักการเมืองควรเป็นตัวอย่าง 
โดยโยงไปหา ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 
แนวการตอบ
วัฒนธรรม คือ ..สิ่งดีๆ ยึดถือสืบต่อกันมา
ปลูกฝังพลเมืองตามแนว การเมืองใหม่
” คุณธรรมพลเมือง ” Civic Virtue 
กระบวนการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ทำด้วยฉันทะ (พอใจ)
สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้ท้องถิ่นการสร้างประโยชน์ให้สังคมเป็นหลักมีจิตสำนึกพลเมือง ที่ดีเพื่อส่วนรวมมีจิตสาธารณะที่จะอำนวยประโยชน์ให้เกิดแก่คนส่วนใหญ่ 



 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :