สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714626
แสดงหน้า2189197
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุปแนวข้อสอบ ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอ และกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520

สรุปแนวข้อสอบ ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอ และกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520
อ้างอิง อ่าน 2889 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
สรุปแนวข้อสอบ ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอ และกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520 
1.      ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอ และกิ่งอำเภอ พ.ศ.2520   อาศัยอำนาจตามความในมาตราใด
ตอบ  มาตรา  21(2) แห่ง พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 
2.      พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ด้วยความเห็นชอบของ
ตอบ  คณะรัฐมนตรี 
3.      ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520  ให้ใช้บังคับ   ตั้งแต่
ตอบ  วันที่ 1 มีนาคม 2520 เป็นต้นไป 
4.      'ส่วนราชการ'   หมายความว่า   
ตอบ   ว่า   ส่วนราชการที่เบิกเงินกับกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด 
5.      'กองคลัง'  หมายความ
ตอบ  แผนกคลังหรือหน่วยงานอื่นใด ซึ่งปฏิบัติงานมีลักษณะเช่นเดียวกันด้วย 
6.      'สำนักงานคลังจังหวัด'     หมายความ
ตอบ   สำนักงานคลังอำเภอด้วย 
7.      'ผู้ว่าราชการจังหวัด'     หมายความ
ตอบ  นายอำเภอที่ตั้งสำนักงานคลังอำเภอ 
8.      'คลัง'     หมายความว่า   
ตอบ  คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ และให้หมายความรวมถึงบัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย 
9.      'สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน'     หมายความ
ตอบ  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค 
10.  'หัวหน้ากองคลัง'  หมายความ
ตอบ  ผู้อำนวยการกองคลัง  หัวหน้าแผนกคลัง หรือตำแหน่งอื่นใดซึ่งปฏิบัติงานมีลักษณะเช่นเดียวกัน 
11.  'เจ้าหน้าที่การเงิน'    หมายความว่า
ตอบ  หัวหน้าแผนกเงินหรือตำแหน่งอื่นซึ่งปฏิบัติงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับหัวหน้าแผนกเงิน และให้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินของส่วนราชส่วนภูมิภาคด้วย 
12.  'ตู้นิรภัย'     หมายความว่า  
ตอบ  กำปั่น หรือตู้เหล็กหรือหีบเหล็กอันมั่นคงซึ่งใช้สำหรับเก็บรักษาเงินของทางราชการ 
13.  'เงินรายได้แผ่นดิน'   หมายความว่า    
ตอบ เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ บัญญัติไม่ให้ส่วนราชการนั้น ๆ นำไปใช้จ่ายหรือหักไว้เพื่อการใด ๆ 
14.  'เงินเบิกเกินส่งคืน'   หมายความว่า  
ตอบ  เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้วแต่ไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือก่อนสิ้นระยะเวลาเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 
15.  'เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน'    หมายความว่า     
ตอบ  เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้วแต่ไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด   หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืนและได้นำส่งคลังภายหลังสิ้นปีงบประมาณ หรือภายหลังระยะเวลาเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 
16.  'เงินนอกงบประมาณ'  หมายความว่า 
ตอบ  เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ  นอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืนและเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน 
17.  'หลักฐานการจ่าย'    หมายความว่า
ตอบ  หลักฐานซึ่งแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับตามข้อผูกพันแล้ว 
18.  'ใบสำคัญคู่จ่าย'    หมายความว่า 
ตอบ   หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน  หลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับเงินที่ธนาคารและให้รวมถึงใบนำส่งเงินต่อคลังด้วย 
19.  การจ่ายใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บเงิน ให้พิจารณา
ตอบ  จ่ายให้ในจำนวนที่เหมาะสมแก่ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และให้มีหลักฐานการรับส่งใบเสร็จรับเงินนั้นไว้ด้วย 
20.  เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับใบเสร็จรับเงินไปดำเนินการจัดเก็บเงินอย่างช้าไม่เกิน
ตอบ  วันที่ 31 ตุลาคม ของปีงบประมาณถัดไป 
21.  โดยปกติ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดียวกันรับเงินทุกประเภท เว้นแต่
ตอบ  เงินประเภทใดที่มีการรับชำระเป็นประจำ  และมีจำนวนมากราย จะแยกใบเสร็จรับเงินเล่มหนึ่งสำหรับการรับชำระเงินประเภทนั้นก็ได้ 
22.  ในกรณีที่ใบสำคัญคู่จ่ายเป็นภาษาต่างประเทศ    
ตอบ  ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยตามสาระสำคัญ 
23.  ในกรณีที่บุคคลนั้นไม่สามารถมารับเงินด้วยตนเองได้
ตอบ  จะทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับเงินแทนก็ได้ 
24.  การจ่ายเงินค่าไปรษณียากร 
ตอบ  การ  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด  ผู้จ่ายเงินจะทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยแสดงจำนวน และเลขที่ของหนังสือไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ส่ง และจำนวนเงินค่าไปรษณียากรที่จ่าย โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลตามวรรคแรกก็ได้ 
25.  หลักฐานการจ่าย
ตอบ  พิมพ์หรือเขียนด้วยหมึก การแก้ไขหลักฐานการจ่ายให้ใช้วิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ แล้วให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน กรมการพัฒนาชุมชน
   1. ข้อใดหมายถึงสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 

ก. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับ 

ข. ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ 

ค. ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 

ง. เงินสดและเงินฝากธนาคาร 

ตอบ ข. 

2. รายการในข้อใดถือเป็นเงินสด 

ก. ธนาณัติ 

ข. เงินมัดจำจ่าย 

ค. เช็คลงวันที่ล่วงหน้า 

ง. เงินฝากธนาคารประเภทประจำ 

ตอบ ก. 

3. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารทำขึ้นเพื่ออะไร 

ก. พิสูจน์ความถูกต้องของเงินฝากธนาคารทุกประเภท 

ข. พิสูจน์ความถูกต้องของเงินฝากธนาคารประเภทประจำ 

ค. พิสูจน์ความถูกต้องของเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ 

ง. พิสูจน์ความถูกต้องของเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน 

ตอบ ง. 

4. การทำงบประมาณเงินสดมีประโยชน์อย่างไร 

ก. เป็นการวางแผนการชำระหนี้ 

ข. เป็นเครื่องมือในการวางแผนการขาย 

ค. เป็นเครื่องมือในการวางแผนการผลิต 

ง. เป็นเครื่องมือในการวางแผนการใช้เงิน 

ตอบ ง. 

5. ถอนเงินจากธนาคารไปใช้ส่วนตัวต้องบันทึกในเล่มใด 

ก. สมุดรายวันทั่วไป 

ข. สมุดรายวันจ่ายเงิน 

ค. สมุดรายวันซื้อสินค้า 

ง. สมุดรายวันส่งคืนสินค้า 

ตอบ ข. 

6. หลังจากทำงบทดลองแล้วต้องทำงบอะไร 

ก. งบดุล 

ข. งบการเงิน 

ค. งบกำไรขาดทุน 

ง. กระดาษทำการ 

ตอบ ข. 

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายการค้า 

ก. เป็นรายการที่ต้องเก็บมาจากเอกสารของกิจการ 

ข. เป็นรายการที่ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อบันทึกรายการ 

ค. เป็นรายการที่ไม่มีผลกระทบต่อการเงินของกิจการ 

ง. เป็นรายการที่ก่อให้เกิดการโอนเงิน/สิ่งที่มูลค่าระหว่างกิจการกับบุคคลภายนอก 

ตอบ ค. 

8. ข้อใดที่ทำให้งบทดลองไม่ลงตัว 

ก. ลืมลงรายการนำเงินมาลงทุนเพิ่ม 

ข. กู้เงินจากธนาคารแต่บันทึกรายการเป็นรับรายได้ 

ค. จ่ายค่าโทรศัพท์ 5,000 บาท บันทึกเป็น 500 บาท 

ง. เก็บยอดดุลเดบิต 2,200 บาท มาลงงบทดลอง 2,000 บาท 

ตอบ ง. 

9. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 กิจการแห่งหนึ่งซื้อหุ้นสามัญธนาคารกรุงเทพจำนวน 12,000 หุ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเป็นเวลา 5 ปี หลักทรัพย์ดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทใด 

ก. หลักทรัพย์ประเภทมีตัวตน 

ข. หลักทรัพย์ประเภทไม่มีตัวตน 

ค. หลักทรัพย์ประเภทหมุนเวียน 

ง. หลักทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียน 

ตอบ ง. 

10. การให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า จัดเป็นหนี้สินลักษณะใด 

ก. หนี้สินหมุนเวียนที่เกิดขึ้นแล้วแต่ไม่สามารถกำหนดมูลค่าหนี้ได้แน่นอน 

ข. หนี้สินหมุนเวียนที่เกิดขึ้นแล้วและสามารถกำหนดมูลค่าหนี้ได้แน่นอน 

ค. หนี้สินหมุนเวียนที่อาจเกิดขึ้น 

ง. หนี้สินระยะยาว 

ตอบ ก. 

11. ข้อใดคือลักษณะการลงทุนของกิจการร่วมค้า 

ก. ผู้ร่วมค้าทุกคนต้องนำเงินสดมาลงทุน 

ข. เมื่อได้กำไรจากเงินที่ลงทุนจะนำไปบริจาคร่วมกัน 

ค. ข้อตกลงตามสัญญากำหนดให้มีอำนาจในการควบคุมร่วมกัน 

ง. หากใครนำเงินมาลงทุนมากที่สุดจะได
โดย: [0 3] ( IP )     
                    
________________________________________
ความคิดเห็นที่ 1
   ้กำไร ในอัตราส่วนมากที่สุด 

ตอบ ค. 

12. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจร่วมค้าได้ 

ก. ธุรกิจการสร้างและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ 

ข. ธุรกิจการจัดสรรที่ดิน 

ค. ธุรกิจขายสินค้า 

ง. ธุรกิจการธนาคาร 

ตอบ ง. 

13. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการทำธุรกิจร่วมค้า 

ก. ลดการเสี่ยงภัย 

ข. ประหยัดค่าใช้จ่าย 

ค. ได้กำไรมากขึ้น 

ง. รวบรวมเงินทุนและบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ 

ตอบ ค. 

14. วิธีบันทึกบัญชีแบบไม่เปิดบัญชีร่วมค้าของกิจการร่วมค้าเมื่อเปิดแยกประเภทของกิจการร่วมค้าจะดูสมุดบัญชีของใคร 

ก. สมุดบัญชีของคนที่เป็นผู้จัดการ 

ข. สมุดบัญชีของคนที่ทำหน้าที่ขาย 

ค. สมุดบัญชีของคนที่นำเงิน/สินค้ามาลงทุน 

ง. สมุดบัญชีของผู้ร่วมค้าคนใดคนหนึ่ง 

ตอบ ง. 

15. สิทธิส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จะปรากฏในงบใดอย่างไร 

ก. งบดุล ทางด้านหนี้สิน 

ข. งบกำไรขาดทุน ถือเป็นรายได้ 

ค. งบดุล ทางด้านสินทรัพย์ 

ง. งบกำไรขาดทุน ถือเป็นค่าใช้จ่าย 

ตอบ ค. 

16. บัญชีทางด้านผู้รับฝากขายในทางบัญชีนั้น เป็นบัญชีลักษณะใดได้บ้าง 

ก. บัญชีฝากขาย เป็นบัญชีลูกหนี้ 

ข. บัญชีฝากขาย เป็นบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ 

ค. บัญชีรับฝากขาย เป็นทั้งบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ 

ง. บัญชีรับฝากขาย เป็นบัญชีเจ้าหนี้ 

ตอบ ค. 

17. การแสดงรายการกำไรจากการขาย ตามสัญญาผ่อนชำระรอตัดบัญชีในงบการเงิน จะแสดงอย่างไร 

ก. แสดงเป็นรายการหักจากขายตามสัญญาผ่อนชำระในงบกำไรขาดทุน 

ข. แสดงเป็นรายการหักจากกำไรขั้นต้นในงบกำไรขาดทุน 

ค. แสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล 

ง. แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล 

ตอบ ง. 

18. หลักในการปิดบัญชีขายผ่อนขำระตามวิธีบันทึก สินค้าแบบต่อเนื่องถ้าผลต่าง Dr. > Cr. แสดงถึงอะไร 

ก. แสดงว่ามีผลขาดทุนให้ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนทางด้าน Dr. 

ข. แสดงว่ามีผลขาดทุนให้ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนทางด้าน Cr. 

ค. แสดงว่ามีผลกำไรให้ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนด้าน Cr. 

ง. แสดงว่ามีผลกำไรให้ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนด้าน Dr. 

ตอบ ค. 

19. กิจการรับสินค้าแลกเปลี่ยนโดยถือเป็นเงินดาวน์ ณ วันที่ขายสินค้าจะบันทึกบัญชีสินค้ารับ แลกเปลี่ยนด้านใดใช้ราคาใด 

ก. ด้าน Dr. ใช้ราคาที่ผู้คิดให้กับสินค้า 

ข. ด้าน Dr. ใช้ราคาที่หักค่าซ่อมแวมและหักกำไรขั้นต้นที่จะขายได้แล้ว 

ค. ด้าน Cr. ใช้ราคาที่ผู้คิดให้กับสินค้ารับแลกเปลี่ยน 

ง. ด้าน Cr. ใช้ราคาที่หักค่าซ่อมแซมและหักกำไรขั้นต้นที่จะขายได้แล้ว 

ตอบ ข. 


20. จากสูตร ราคาสินค้า - เงินดาวน์ = เงินงวด เป็นการคำนวณดอกเบี้ยวิธีใด 

จำนวนงวด 

ก. วิธีค่ารายไปโดยวิธีชำระเงินต้นเท่ากันทุกงวด 

ข. วิธีค่ารายไปโดยชำระเงินงวดเท่ากันทุกงวด 

ค. วิธีผลรวมตัวเลข 

ง. วิธีผลรวมตัวเลขโดยชำระดอกเบี้ยตามส่วนของผลรวมตัวเลข 

ตอบ ก. 

21. ระบบบัญชีไม่สมบูรณ์แบบมีความหมายอย่างไร 

ก. มีลักษณะการบันทึกบัญชีเหมือนกับระบบบัญชีคู่ 

ข. ระบ
โดย: [0 3] ( IP )     
________________________________________
ความคิดเห็นที่ 2
   บบัญชีที่มีการบันทึกบัญชีที่เกิดขึ้นไม่มากนัก 

ค. ระบบบัญชีที่มีการบันทึกบัญชีที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์แบบตามหลักบัญชีคู่ 

ง. ระบบบัญชีที่มีการบันทึกบัญชีที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์แบบตามหลักบัญชีที่รับรอง โดยทั่วไป 

ตอบ ค. 

22. ระบบบัญชีไม่สมบูรณ์แบบ เมื่อรายการค้าเกิดขึ้นและบันทึกในสมุดรายวันแล้วอาจจะไม่มีการผ่านรายการแยกประเภทยกเว้นบัญชีใด 

ก. ยกเว้นบัญชีลูกหนี้เท่านั้น 

ข. ยกเว้นบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น 

ค. ยกเว้นบัญชีสินค้าคงเหลือเท่านั้น 

ง. ยกเว้นบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้เท่านั้น 

ตอบ ง. 

23. การคำนวณหากำไรขาดทุนในระบบบัญชีที่ไม่สมบูรณ์แบบอาจใช้วิธีใด 

ก. เปรียบเทียบทุน 

ข. วิเคราะห์รายละเอียดประกอบงบกำไรขาดทุน 

ค. เปรียบเทียบทุนและวิเคราะห์รายละเอียดประกอบงบกำไรขาดทุน 

ง. วิธีเดียวกับระบบบัญชีคู่ 

ตอบ ค. 

24. ข้อใด “ไม่ใช่” รายการตัดบัญชีระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา 

ก. สินค้าส่งไปสาขา - สินค้ารับจากสำนักงานใหญ่ 

ข. สินค้าส่งคืนให้สำนักงานใหญ่ - สินค้ารับคืนจากสาขา 

ค. เดินสะพัดสำนักงานใหญ่ - เดินสะพัดสาขา 

ง. สาขาซื้อสินค้าเป็นเงินสด 

ตอบ ง. 

25. ข้อใดคือลักษณะการลงทุนของกิจการร่วมค้า 

ก. บันทึกรายการรวมไปกับการขาดทุนตามปกติ 

ข. บันทึกรายการแยกจากการขายตามปกติ 

ค. บันทึกรายการตามหลักบัญชีเดี่ยวหรือหลักบัญชีคู่ก็ได้ 

ง. บันทึกรายการรวมหรือบันทึกรายการแยกจากการขายตามปกติ 

ตอบ ง. 

26. ข้อใด “ไม่ใช่” เป็นลักษณะของตัวแทน 

ก. เป็นใครก็ได้ที่มีความสามารถ 

ข. เป็นนิติบุคคล 

ค. มีสำนักงานในประเทศหรือต่างประเทศ 

ง. เป็นบุคคลธรรมดา 

ตอบ ก. 

27. กิจการผลิตกระดาษชำระยี่ห้อเจ๋งรวมกับกิจการผลิตกระดาษชำระยี่ห้อแจ๋วถือเป็นการรวมธุรกิจแบบใด 

ก. แนวตั้ง 

ข. แนวนอน 

ค. แบบผสม 

ง. แนวราบ 

ตอบ ข. 

28. ค่าใช้จ่ายในการรวมธุรกิจที่ไม่ถือเป็นต้นทุนได้แก่อะไร 

ก. ค่าธรรมเนียมผู้ริเริ่มก่อการ 

ข. ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท 

ค. ค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย 

ง. ค่าสอบบัญชี 

ตอบ ข. 

29. การปริวรรคเงินตราหมายถึงอะไร 

ก. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 

ข. ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 

ค. แลกเปลี่ยนเงินสกุลหนึ่งไปสกุลหนึ่ง 

ง. แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินบาท 

ตอบ ง. 

30. หากซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ US$ 1,000 อัตราแลกเปลี่ยน US$ 1 = ฿ 41.40 คิดเป็นเงินไทย เพื่อตั้งเป็นเจ้าหนี้กี่บาท 

ก. 21,400 

ข. 31,400 

ค. 41,400 

ง. 51,400 

ตอบ ค. 

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :