สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714668
แสดงหน้า2189588
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




การจัดทำรายงานการประชุม

การจัดทำรายงานการประชุม
อ้างอิง อ่าน 263 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์


การจัดทำรายงานการประชุม

องค์ประกอบของการประชุม
1.ประธาน
2.รองประธาน
3.กรรมการ
4.กรรมการและเลขานุการ
5.ระเบียบวาระการประชุม
6.มติที่ประชุม
7.รายงานการประชุม (ถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้)

ความสำคัญของรายงานประชุม
1.เป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้อ้างอิง ยืนยันหรือตรวจสอบในภายหลัง
2.ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามงาน
3.ยุติความขัดแย้ง (ใช้มติที่ประชุมเป็นคำตัดสิน)

ลักษณะของรายงานการประชุมที่ดี
1.ความถูกต้อง
2.ความเที่ยงตรง
3.ความชัดเจน
4.ใช้ภาษาดี










รูปแบบรายงานการประชุม

รายงานการประชุม...
ครั้งที่........... (ปีปฏิทิน)
เมื่อวันที่............
ณ......................................
 
ผู้มาประชุม (คณะองค์ประชุม)
ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี)
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) (บุคคลที่มิใช่อยู่ในองค์ประชุม)
เริ่มประชุมเวลา (เวลาจริง) (การเขียนเวลา 08.00 น. หรือ 08:00 น.)
เมื่อประธานกล่าวเปิดประชุมแล้ว  ได้ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปนี้
ระเบียบวาระที่ 1    เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2    เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 3    เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ หรือ เรื่องสืบเนื่อง 
ระเบียบวาระที่ 4    เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 
ระเบียบวาระที่ 5    เรื่องอื่น ๆ   (ถ้ามี)

เลิกประชุมเวลา (เวลาจริง) (การเขียนเวลา 08.00 น. หรือ 08:00 น.)







                        .............................................................
    
                            ผู้จดรายงานการประชุม


วิธีจดรายงานการประชุมมี 3 วิธี
1.จดอย่างละเอียดทุกคำพูด พร้อมมติ (เช่น การประชุมรัฐสภา)
2.จดย่อคำพูดเฉพาะประเด็นสำคัญ พร้อมมติ
3.จดแต่เหตุผลและมติ

หลัก 4 C ของรายงานการประชุมที่ดี
1.Clear ชัดเจน
    - คนอ่านเข้าใจง่าย ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
2.Concise กระชับรัดกุม
    - ตรงเป้าหมายตามมติที่ประชุม
3.Correct ถูกต้อง
    - วัน เวลา สถานที่ประชุม มติที่ประชุมถูกต้อง
4.Complete สมบูรณ์
    - มีความสมบูรณ์ ไม่ผิดพลาด

คุณสมบัติของผู้จดและจัดทำรายงานการประชุมที่ดี
1.เป็นผู้ฟังที่ดี
2.มีความรู้ดี
3.เป็นผู้ทำการบ้านก่อนเข้าที่ประชุม
4.มีสมาธิดีตลอดการประชุม
5.มีทักษะการสรุปความที่ดี
6.การใช้ภาษาในการเรียบเรียงที่ดี

บทบาทของประธานที่ประชุม
- ถือหางเสือ เปรียบเสมือนนาวาที่จะนำไปให้ถึงจุดหมาย
- นำการประชุม
    - เปิดประชุมได้ดี สร้างบรรยากาศและให้อิสระทางความคิด
    - ให้ที่ประชุมมีส่วนร่วม ในการออกความคิดเห็น
    - รู้จักใช้คำถามที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
    - ควบคุมการประชุมตลอดเวลา ไม่ให้ออกนอกประเด็น
    - ปิดประชุมได้ดี ด้วยการสรุปมติของที่ประชุมเพื่อยืนยันข้อตกลงร่วมกันอีกครั้ง  
                 เพื่อป้องกันการไขว้เขวของผู้เข้าประชุม จึงจะถือว่าการประชุมประสบความสำเร็จ
บทบาทของผู้เข้าร่วมประชุม

ไม่มุ่งความสำเร็จเพื่อส่วนรวม    มุ่งหวังความสำเร็จเพื่อส่วนรวม
1.ผู้ระราน    1.ผู้ริเริ่ม
2.ผู้ขัดขวาง    2.ผู้แสวงหาข้อมูล
3.ผู้แสวงหาการยกย่อง    3.ผู้ให้ข้อมูล
4.ผู้ปลุกระดม    4.ผู้ประสานความคิดเห็น
5.ผู้ครอบงำ    5.ผู้สรุป
6.ผู้แสวงหาความช่วยเหลือ    6.ผู้กระตุ้นวิจารณ์
7.ผู้แอบอ้างผลประโยชน์    7.ผู้สร้างบรรยากาศ

บทบาทของเลขานุการ    :    ตั้งแต่ก่อนการประชุม
            :    ระหว่างการประชุม
            :    และหลังการประชุม
1.ตรวจสอบความเรียบร้อย ความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ที่ใช้ อาหาร ฯลฯ
2.เตรียมเอกสาร/เอกสารแจกเพิ่มเติมให้พร้อม
3.ประสานกรรมการ ตามหนังสือเชิญ เพื่อป้องกันการมาสาย
4.จดมติที่ประชุม จัดทำรายงานการประชุม
5.เวียนแจ้งมติที่ประชุม
6.จัดเก็บเอกสารเพื่อการอ้างอิง

การใช้ถ้อยคำตามระเบียบ

รายงานการประชุม    บันทึกการประชุม
เมื่อวันที่    วันที่
ผู้มาประชุม    ผู้เข้าประชุม /ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้ไม่มาประชุม    ผู้ไม่เข้าประชุม
เริ่มประชุมเวลา    เปิดประชุมเวลา
เลิกประชุมเวลา    ปิดประชุมเวลา
ผู้จดรายงานการประชุม    ผู้บันทึกรายงานการประชุม
“เมื่อประธานเปิดประชุมแล้ว เริ่มประชุมตามระเบียบวาระดังต่อไปนี้”
สำนวนภายในรายงานการประชุม
ประธานขอให้นาย/นางสาว...ชี้แจงต่อที่ประชุม
นาย/นางสาว...ชี้แจงว่า...
แจ้งต่อที่ประชุมว่า...
แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า...
นำเสนอรายละเอียดการ...ดังนี้
ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง...ว่า
แสดงความคิดเห็นว่า...
ให้ข้อคิดเห็นว่า...
ตั้งข้อสังเกตว่า...
มีความเห็นว่า...
มีความเห็นสอดคล้องกับ...ว่า...
เสนอว่า
เสนอต่อที่ประชุมว่า...
เสนอเพิ่มเติมว่า...
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับกรณี...
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาว่า...
เสนอให้ปรับ.../ปรับปรุง...
ที่ประชุมรับทราบ
ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้
ที่ประชุมอภิปรายแล้ว มีมติให้
มติที่ประชุม  เห็นควรให้
ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับประเด็น...ดังนี้
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบ...

การรับรองรายงานการประชุม
1.รับรองในการประชุมครั้งนั้น
2.รับรองในการประชุมครั้งต่อไป
3.รับรองโดยการแจ้งเวียน

 

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.88.41.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :