การเขียนหนังสือราชการ |
|
อ้างอิง
อ่าน 282 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
การเขียนหนังสือราชการ
เขียนถึงใคร
เพื่อจะได้ระบุคำขึ้นต้นคำลงท้ายได้อย่างถูกต้อง และใช้ถ้อยคำสำนวน ได้อย่างเหมาะสมกับฐานะของผู้รับหนังสือซึ่งเป็นผลดีกับทั้งบุคคลและหน่วยงานที่ออกหนังสือนั้นเอง คำขึ้นและคำลงท้าย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการใช้ตามฐานะของบุคคลแล้วได้จากภาคผนวกท้ายระเบียบ ส่วนถ้อยคำสำนวนนั้น
ถ้าเขียนถึงผู้สูงศักดิ์หรือที่มีตำแหน่งสูงอย่างมาก ควรใช้ถ้อยคำสำนวนอ่อนน้อมให้มากๆ เช่น “จึงขอประทานกราบเรียนเพื่อโปรดพิจารณา” “ขอความกรุณาได้โปรด” “จะเป็นพระคุณยิ่ง” เป็นต้น
เขียนถึงผู้ใหญ่ควรใช้ถ้อยคำสำนวนอ่อนน้อม เช่น “จึงเรียนมาเพื่อขอได้โปรดพิจารณา” “จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ” “จะเป็นพระคุณมาก” เป็นต้น
เขียนถึงบุคคลหรือตำแหน่งระดับเสมอกันควรใช้ถ้อยคำสำนวนที่สุภาพมากใช้คำว่า “โปรด” “จึงเรียนเพื่อทราบ” “ขอขอบคุณมาก”
เขียนถึงบุคคลหรือผู้ปฏิบัติงานทั่วไปใช้ถ้อยคำสุภาพ เช่น “โปรดพิจารณา” “เรียนมาเพื่อทราบ” “ขอขอบคุณ” เป็นต้น
ถ้าเป็นกรณีเขียนถึงผู้ใต้บังคับบัญชาใช้ถ้อยคำสำนวนธรรมดา เช่น “ขอให้” “เรียนมาเพื่อทราบ” ถ้อยคำสำนวนที่กล่าวนี้ก็เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น ถ้าผู้เขียนจะเขียนโดยใช้ถ้อยคำสำนวนที่อ่อนน้อมอย่างมากๆ กว่าแนวทางที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องของลีลาหรือเทคนิคของแต่ละบุคคล แต่พึงระมัดระวังไว้ด้วยว่าอย่าให้กลายเป็นประจบประแจงหรือยกยอเกินความเหมาะสม หรือเกินความเป็นจริง ซึ่งอาจจะทำให้ไม่เกิดผลดีได้
ติดตามแนวข้อสอบเตรียมสอบส่วนราชการ และบทความที่น่าสนใจได้ที่
เว็บไซต์ ประพันธ์ เวารัมย์
http://pun2013.bth.cc
http://waoram.myreadyweb.com
http://group.wunjun.com/valrom2012
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|